พรบ. คอม ฉบับ พ.ศ. 2554... กระแสที่มาแรงที่สุดในโลก Online ที่ทุกคนต้องรู้


 
กระแสที่มาแรงที่สุดในตอนนี้... ของโลกออนไลน์ คงจะไม่หนีไปจากกระแสของ....
พรบ. คอมพิวเตอร์ 2554 ซึ่งเป็นกฎหมายล่าสุดครับ...

กฎหมายฉบับนี้ เป็นฉบับที่สร้างกระแสความตื่นตัวอย่างมากมาย... ในวงการอินเตอร์เน็ท....

ซึ่งคนที่เล่นเน็ตทุกคนต้องต้องรู้ครับ... (ไม่งั้นอาจจะไปนอนเล่นที่ห้องกงก้อได้นะครับ)...

ประเด็นหลักๆ ที่มีการแก้ไข เพิ่มเติมสำหรับฉบับนี้ มีอยู่ 10 หัวข้อด้วยกันครับ
แต่ผมขอยกประเด็นมาไม่กี่ข้อ ถ้าอยากรู้รายละเอียดอ่านต่อได้ตามลิ้งค์ข้างล่างครับ...


เมื่อวันจันทร์ที่28 มี.ค. 54 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
จัดประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่า
ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่างพ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย
ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ทั้ง ฉบับ และให้
ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึง
ฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้


ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี
สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา16 ที่ เพิ่มมาว่า “ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บ
ไซต์
ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนว
ทางการเขียน 
เช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์
โหลดมาพักไว้ในเครื่อง
โดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า “แคช” (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียก
ดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดย
เก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป
ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้
อาจมิได้
มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว

ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด
ในมาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
หรือ
เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ” 
เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไร
ก็ดี ยังมีความ
คลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความ
อย่างไร

นอกจากนี้
มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ “การ
ครอบครอง”
อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อม
ไม่อาจรู้ได้ว่า
การเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอม
พิวเตอร์ถูกตรวจแล้ว
พบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็น
ผู้ดูผู้ชม

ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา
มาตรา24 (1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่
น่าจะ
เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชนเนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ กฎหมายปัจจุบันมา
รวมกัน
ทั้งนี้หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความ
พยายามเอาผิดกรณี 
การทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอกเอาข้อ
มูลส่วนบุคคล (phishing) จึง
เขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็น
ความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือ
นักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า “ข้อมูลคอม
พิวเตอร์ปลอม” เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการ
เขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้อง
ร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยัง
ดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้
ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคง
ของประเทศหรือก่อให้เกิด
ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปีปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
หาก พิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหา
นี้ก่อ
ให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครอง
การนิยามความจริง
ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์
เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่า
กระทบต่อความไม่มั่นคงของ “รัฐบาล” ข้อความกฎหมาย
ลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานใน
การแสดงความคิด เห็นโดยไม่จำเป็น

ประเด็นที่5 ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
มาตรา26 ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอม
พิวเตอร์ที่ปรากฏ
เป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำ
ให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง
ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้
ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวน
มาก แต่การ
กำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรง
ประเด็นมีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่า
ด้วยภาพตัดต่อ 
ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้ง
ข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้
ง่ายขึ้นข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น
หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุก
สามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทใน
กรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญา
มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ประเด็นที่6 ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ
มาตรา21 ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์
ที่ รัฐมนตรี
ประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ
และโดยไม่เปิดโอกาส
ให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิก
หรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธ
การตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับ
ไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบ
กวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่ง
ที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่
แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิด
โอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิก
หรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ บอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจาก
เดิมที่กำหนด
โทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น
บาทหรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

 
ทั้งนี้ ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่น
เดือดร้อนรำคาญ
แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้
 
ประเด็นที่7 เก็บโปรแกรมทะลุทะลวง  จำคุกหนึ่งปี
มาตรา23 ผู้ ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่ง
ข้อมูลคอมพิวเตอร์
ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทำความ ผิดตามมาตรา
15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และ
มาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ
ไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ


น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลด
ไฟล์อย่างทอร์เรนท์
การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบ
ต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิว
เตอร์โดยตรง


ประเด็นที่ 8 เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ
สำหรับกรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้
ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ร่างกฎหมายใหม่
เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับ
ไม่เกินสี่หมื่นบาท(เพิ่มขึ้น 4 เท่า)


สุดท้ายก็ขอฝากสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์ ให้ระมัดระวังการทำสแปมอีเมล์ด้วยครับ
ใหม่กว่า เก่ากว่า